เทคโนโลยีการสื่อสาร

โทรศัพท์มือถือ

1.โทรศัพท์มือถือคืออะไร
โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน

2.วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog ให้บริการเสียงอย่างเดียว ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ.1980
2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC ให้บริการทั้งเสียงและข้อมูล มีการทำงานแบบ circuit switching ที่ความเร็ว 9.6-14.4 kbps
2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS ความเร็ว 20-40 kbps
2.75G ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTT, EDGE ให้ความเร็วน้อยกว่า 100 kbps
3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 1x-EVDO ความเร็ว มากกว่า 144 kbps
3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA
4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ Real-Digital สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ ภาคพื้นดิน CDMA PA-H และการเชื่อมต่อ ewifi และ Wi-Max เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน

3.ระบบปฏิบัติการของมือถือ
- ซิมเบียน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในค่ายโนเกีย
- วินโดวส์โมบาย จะใช้กับโทรศัพท์มือถือที่เป็น PDA (Personal digital assistants)
- ไอโอเอส (iOS) ใช้เฉพาะใน ไอโฟน ไอแพด และไอพอด
- แบล็กเบอร์รีโอเอส (BB)
- แอนดรอยด์ จากกูเกิล
- เว็บโอเอส (webOS)
- มีโก (MeeGo) จากโนเกีย
- วินโดวส์โฟน
4.ข้อดี - ข้อเสียของมือถือ
            ข้อดี
            1.ใช้ติดต่อสื่อสารพูดคุยทางไกลได้สะดวกรวดเร็ว
2. สามารถส่งข้อความได้หากไม่สะดวกที่จะพูดคุยกัน
3.ถ่ายรูป อัดวีดีโอได้ โดยไม่ต้องเสียตังซื้อกล้องถ่ายรูปหรือกล้องอัดวีดีโอ
4.เล่นอินเตอร์เน็ต
5.เอาไว้ฟังเพลง ดูหนัง ดูคลิปวีดีโอ
6.ใช้เป็นนาฬิกาปลุก
7.ใช้คิดเลข
8.ดูเวลา
9.เล่นเกมส์
10. ฯลฯ

ข้อเสีย
1. ทำให้เป็นภาระทางการเงิน ต้องหาเงินมาจ่ายค่าโทร
2.ทำให้สังคมของเรา แคบลง เพราะมือถือสมัยนี้สามารถพิมพ์แชทกันได้ เวลามีปัญหาอะไรก็จะ     พิมพ์ถามกันทั้งๆทีนั่งอยู่ข้างๆ  แทนที่จะพูดคุยกัน
3.ทำให้คุณสูญเสียอวัยวะได้ หากใช้แบตฯปลอม
4.อาจทำให้เกิดมะเร็งได้  องค์การอนามัยโลกได้ยืนยันแล้ว โดยองค์การฯได้บรรจุโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ในรายชื่อวัตถุก่อมะเร็ง ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยจัดว่ารังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น "วัตถุก่อมะเร็ง"โดยผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างหนักจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองมากขึ้นถึง 40%
5.การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานอาจทำให้ปวดศรีษะได้ ปกติเรานำคลื่นไมโครเวฟมาใช้ในการอุ่นอาหาร เนื่องจากคลื่นถูกดูดซึมจากส่วนประกอบที่มีน้ำได้ดี และถ้ามีความเข้มสูงพอจะเกิดเป็นความร้อนทำให้อาหารนั้นร้อนขึ้นหรือสุกได้ ถึงแม้คลื่นไมโครเวฟที่กระจายอยู่ในอากาศยังไม่มีความเข้มถึงขีดอันตรายที่จะเกิดความร้อนได้ แต่เสาอากาศของโทรศัพท์มือถือได้ดึงดูดคลื่นไมโครเวฟเข้าสู่เครื่องโทรศัพท์ ทำให้บริเวณที่อยู่ใกล้เสาอากาศ คือ ศีรษะจะได้รับคลื่นไมโครเวฟในปริมาณมากจนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
6.อาจมีอาการหูตึง เนื่องจากเสียงโทรศัพท์ไม่ชัดเจน มีเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ใช้โทรศัพท์ในตำแหน่งที่รับส่งคลื่นได้สะดวก บุคลิกภาพของผู้ใช้โทรศัพท์ต้องเสียไป เนื่องจากต้องพะวักพะวงกับการหาตำแหน่งที่รับฟังได้ชัดเจนและยังต้องตะโกนพูดอยู่คนเดียว
7.การโทรไม่ติดหรือหลุดบ่อยทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด สุขภาพจิตเสื่อมลง กล้ามเนื้อคอ หัวไหล่มักจะเกร็งเนื่องจากต้องถือโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา และบางครั้งยังต้องพยายามเอียงคอ และใช้มือดันโทรศัพท์ให้แนบติดกับใบหูอยู่ตลอดเวลา



อ้างอิงข้อมูลจาก

3 ความคิดเห็น: